หน้าเว็บ

Lecture

บทที่ 9
ออกแบบกราฟฟิกสำหรับเว็บไซต์
 Designing Web Graphics



                กราฟฟิกเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอยางหนึ่งของเว็บเพจ ช่วยสื่อความหมายสร้างความเข้าใจให้กับผู้ใช้ รวมทั้งช่วยสร้างความสวยงามให้เว็บไซต์น่าดูชมยิ่งขึ้น
                    ปัญหาที่มักเกิดขึ้นกับการสร้างกราฟฟิกคือ การเลือกใช้รูปแบบรากฟฟิกที่ไม่เหมาะสมกับลักษณะของรูป โดยไม่รู้จักความแตกต่างของรูปแบบกราฟฟิก ส่งผลให้รูปที่ได้มีลักษณะไม่สมบูรณ์และมีไฟล์ใหญ่เกินความจำเป็น


                          รูปแบบกราฟฟิกสำหรับเว็บ (GIF,JPG และ PNG)

             GIF ย่อมาจาก Graphic Interchange Format

 

     -ได้รับความนิยมในยุคแรก
-มีระบบสีแบบ Index ซึ่งมีข้อมูลสีขนาด 8 บิต ทำให้มีสีมากสุด 256สี
-มีการบีบอัดข้อมูลตามแนวของพิกเซล เหมาะสำหรับกราฟฟิกที่ประกอบด้วยสีพื้น

                  JPG ย่อมาจาก Joint Photographic Experts Group


     -มีข้อมูลสีขนาด 24 บิต (True Color) สามารถแสดงสีได้ถึง 16.7ล้านสี
-ใช้ระบบการบีบอัดที่มีลักษณะที่สูญเสีย (lossy)

-ไฟล์ประเภทนี้ควรนำไปใช้กับรูปถ่ายหรือกราฟฟิกที่มีการไล่ระดับสีอย่างละเอียด


             PNG ย่อมาจาก Portable Network Graphic

 
     -สามารถสนับสนุนระบบสีได้ทั้ง 8 บิต 16 บิต และ 24 บิต
-มีระบบการบีบอัดแบบ Deflate ที่ไม่ทำให้เกิดการสูญเสีย (lossless)
-มีระบบการควบคุมค่าแกมม่า (Gamma) และความโปร่งใส(Transparency)ในตัวเอง



บทที่ 10
จัดรูปแบบตัวอักษรสำหรับเว็บไซต์

จัดรูปแบบตัวอักษรสำหรับเว็บไซต์
ตัวอักษรมีความสำคัญในการสื่อข้อความถึงผู้ใช้ ตัวอักษรมีหลายชนิด แต่ละชนิดจะให้อารมณ์และความรู้สึกที่
-แตกต่างกัน ควรเลือกใช้ตัวอักษรให้
-เหมาะสมกับเนื้อหาและข้อมูลที่ต้องการสื่อ

ส่วนประกอบของตัวอักษร



Ascender : ส่วนบนของตัวอักษรพิมพ์เล็กที่สูงกว่าความสูง x-height ของตัวอักษร
Descender : ส่วนล่างของตัวอักษรพิมพ์เล็กที่ต่ำกว่าเส้น baseline
Baseline : เส้นสมมติที่ตัวอักษรส่วนใหญ่ตั้งอยู่
Cap height : ความสูงจากเส้น baseline ไปถึงส่วนบนสุดของตัวอักษรพิมพ์ใหญ่
Point size : ระยะความสูงทั้งหมดวัดจากส่วนบนสุดถึงส่วนล่างสุดของตัวอักษร
X-height : ความสูงของตัวอักษร x ในแบบพิมพ์เล็ก ซึ่งมักใช้อ้างถึงความสูงของตัวอักษรที่ไม่รวม ascender และ descender

        ค่าความสูง x-height จะมีผลต่อภาพรวมของตัวอักษรและความยากง่ายในการอ่าน

ความสะดวกในการอ่าน (Legibility)
หลีกเลี่ยงการใช้คำที่เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด เพราะจะทำให้อ่านยาก และลดความสะดุดตาลง การใช้ตัวพิมพ์
-เล็กทั้งหมดในประโยค จะสร้างความรู้สึกไม่เป็นทางการ และแสดงถึงความไม่สมบูรณ์ของเนื้อหา การจัดข้อความในหน้าเว็บช่องว่างระหว่างตัวอักษรและระหว่างคำ  
-ตัวอักษรบางคู่ที่อยู่ติดกันอาจมีระยะที่ไม่เหมาะสม จำเป็นต้องมีการปรับแต่งที่เรียกว่า Kerning เพื่อที่สายตาจะได้เคลื่อนที่อย่างราบเรียบและสม่ำเสมอ การจัดตำแหน่งแบบ justify ทำให้ช่องว่างของแต่ละคำแตกต่างไป
-ในแต่ละคำแตกต่างไปในแต่ละบรรทัด  ซึ่งอาจทำให้เกิดช่องว่างที่ไม่สวยงามได้

ความยาวของหน้าเว็บ
-หน้าเว็บที่ยาวมาก ๆ จะทำให้ผู้ชมรู้สึกเหนื่อยล้าที่จะอ่าน
     -ควรจัดแบ่งเป็น paragraph หรือ ตัดแบ่งเป็นหลาย ๆ หน้าขนาดของตัวอักษร


ขนาดของตัวอักษร
-ใช้ตัวอักษรหลายขนาดเพื่อสร้างลำดับความสำคัญของข้อมูล
     -ลำดับในการอ่านโดยทั่วไป ผู้อ่านจะอ่านจากบนลงล่าง และจากซ้ายไปขวา

การใช้สีกับตัวอักษร 
 -กำหนดสีหลักสำหรับเว็บ 
 -ใช้สีของตัวอักษรอย่างมีความหมายสม่ำเสมอ 
 -ใช้สีที่แตกต่างกันในแต่ละส่วนข้อมูล 
 -กำหนดสีของ link ให้เหมาะสม